เกลือในประเทศไทย

     เกลือ มีชื่อทางเคมีว่า “โซเดียมคลอไรด์ (Sodium Chloride)” สูตรทางเคมีคือ NaCl มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีรสเค็ม เกลือมีความสำคัญต่อมนุษย์อย่างมาก คนเราควรบริโภคเกลือประมาณวันละ 5-10 กรัม เพื่อช่วยรักษาสมดุลของน้ำในร่างกายให้ทำงานอย่างปกติ นอกจากนี้เกลือยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น การนำไปถนอมอาหาร ปรุงอาหาร และใช้ในอุตสาหกรรมผลิตสารเคมีต่างๆ

     เกลือในประเทศไทย แบ่งออกได้ 2 ประเภท ได้แก่ เกลือสินสมุทรหรือเกลือทะเลและเกลือสินเธาว์หรือเกลือหิน โดยเกลือแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกัน

– เกลือสินสมุทรหรือเกลือทะเล

เกลือสินสมุทรหรือเกลือทะเล

     เกลือที่ผลิตโดยวิธีนำน้ำทะเลขึ้นมาพักไว้ในบ่อที่เตรียมไว้ ตากแดดให้น้ำระเหยไปตามธรรมชาติ เมื่อน้ำได้ระเหยแห้งไปหมดจะเหลือแต่ผลึกเกลือ เป็นวิธีการทำที่มีมาตั้งแต่โบราณ แหล่งผลิตเกลือสมุทรที่สำคัญ ได้แก่ พื้นที่ในจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม เป็นต้น

– เกลือสินเธาว์หรือเกลือหิน

เกลือสินเธาว์หรือเกลือหิน

     เกลือที่ทำมาจากดินที่น้ำได้ชะล้างดินละลายแล้วแห้งเป็นคราบเกลือติดอยู่บนผิวดิน ภาษาชาวบ้านเรียกว่า “ส่าดิน” เมื่อน้ำผิวดินมาละลายน้ำแล้วนำมาต้มจะได้เกลือสินเธาว์ และได้มีการค้นพบเกลือหินที่อยู่ใต้ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้การผลิตเกลือสินเธาว์มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นการใช้เกลือหินแทน โดยใช้วิธีฉีดน้ำลงไปชะล้างละลายเกลือในบ่อเกลือ หรือวิธีสูบน้ำเกลือใต้ดินขึ้นมาตากแดด โดยการต้มเพื่อให้ได้ผลึกเกลือ แหล่งผลิตแหล่งผลิตเกลือสมุทรที่สำคัญ ได้แก่ พื้นที่ในที่สำคัญ ได้แก่ พื้นที่ในจังหวัดชัยภูมิ มหาสารคราม ยโสธร อุบลราชธานี และอุดรธานี เป็นต้น

     ในปัจจุบันการผลิตเกลือแบบดั่งเดิมเริ่มมีให้เห็นน้อยลง เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม ทำให้อาชีพการทำนาเกลือเริ่มน้อยลงไป หันไปทำงานในโรงงานหรือบริษัทแทน ส่วนประโยชน์ของเกลือนั้นมีมากมายไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ทางยาหรือประโยชน์ทางความงาม

ที่มาภาพ : travel.truelife.com,www.thaihof.org

Tags: , , , , ,